การประชุมส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับภูมิภาคเอเชีย (Asia Regional Conservation Forum - Asia RCF) ครั้งที่ 8 ของ IUCN (องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ) ได้เปิดจากขึ้นแล้วในวันนี้ ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยมีผู้นำด้านการอนุรักษ์กว่า 500 คนจากทั่ว ภูมิภาคเข้าร่วม ประกอบด้วยผู้แทนจากรัฐบาล องค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ผู้บริจาคและองค์กรพันธมิตรสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคเอกชน
การประชุมนี้จะจัดขึ้นเป็นเวลาสามวันภายใต้หัวข้อ 'Reimagining Conservation in Asia: A Nature Positive Future - จินตนาการการอนุรักษ์ในเอเชียขึ้นใหม่ เพื่ออนาคตเชิงบวกต่อธรรมชาติ ' โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคืบหน้าในการอนุรักษ์ ทบทวนเป้าหมายหลัก และเสนอแนะแนวทางเชิงกล ยุทธ์เพื่อรับมือกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในอีก 20 ปีข้างหน้า
"การประชุมฟอรั่มอนุรักษ์ภูมิภาคเป็นโอกาสพิเศษในการยืนยันความมุ่งมั่นของเราในการร่วมมือเพื่อประโยชน์ของธรรมชาติและมนุษยชาติ ขอให้เราคว้าโอกาสนี้เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและเร่งความพยายาม สู่อนาคตที่เป็นบวกต่อธรรมชาติสำหรับเอเชีย." นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าว ทั้งนี้ ทส. เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดการประชุม Asia RCF ครั้งที่ 8 ของ IUCN
"ในโอกาสที่ได้มาประชุมร่วมกันนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เสริมสร้างความร่วมมือ แบ่งปันความรู้ และสำรวจแนวทางใหม่ ๆ เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจ เราจะสามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ของโลกให้คงอยู่เพื่อคนรุ่นหลังสืบต่อไป" นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าว ทั้งนี้ กรมอุทยานฯ เป็นตัวแทนของประเทศไทย เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IUCN ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505การประชุม Asia RCF เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกสี่ปี เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุม IUCN World Conservation Congress (การประชุมใหญ่ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก) ครั้งถัดไป ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน ตุลาคม 2568 ที่กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การประชุมนี้เป็นการรวมตัวของสมาชิก IUCN และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อหารือและตกลงกันในเรื่องวาระการอนุรักษ์ที่สำคัญของเอเชีย เพื่อนำเสนอในการประชุมสมาชิกระดับโลกในปีถัดไป
การประชุม Asia RCF ครั้งที่ 8 ได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากคณะกรรมการแห่งชาติ (National Committee) ของสมาชิก IUCN ในประเทศไทย โดยการประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ระยะเวลา 20 ปีขององค์การ รวมถึงแผนการดำเนินงานสำหรับปี 2569-2572 และเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการตลอดหนึ่งปีถัดจากนี้ ที่ให้สมาชิกได้เสนอญัตติเกี่ยวกับเป้าหมายสำคัญในการอนุรักษ์ ซึ่งจะมีการอภิปรายและนำไปเป็นมติและข้อเสนอแนะในที่ประชุมสภา IUCN ในปี 2568การประชุม Asia RCF ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่จัดให้มีการประชุมผู้นำเยาวชน โดยจัดขึ้นเพื่อเยาวชน โดยเยาวชนจาก 23 ประเทศ เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของบุคลากรรุ่นใหม่และบทบาทที่เพิ่มขึ้นของพวกเขาในการอนุรักษ์ธรรมชาติ
"เสียงของเราสำคัญต่อการนำทัพฝ่าฟันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและเป็นธรรมสำหรับทุกคน ความหลากหลายของเราคือจุดแข็ง และความสามัคคีของเราคือพลังในการสร้างเส้นทางสู่อนาคตที่ยั่งยืน" คุณราชาน อัล มูบารัค ประธาน IUCN กล่าว
IUCN Asia มีความยินดีที่ได้ต้อนรับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด เป็นพันธมิตร ผู้สนับสนุนในการจัดการประชุมครั้งนี้ สานต่อความร่วมมือที่มีมาอย่างยาวนานว่าด้วยการสร้างเครือข่ายภาค ธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (business for biodiversity) ตั้งแต่ปี 2559
"ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ยกระดับความร่วมมือระหว่างโตโยต้าและ IUCN ไปสู่อีกขั้น ผ่านการสนับสนุนการจัดการประชุมส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 8 ให้เราได้ร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจและได้รับแรงบันดาลใจ ภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและมุ่งเน้นการปฏิบัติ เพื่อปกป้องระบบ นิเวศของโลกของเรา" นายปาซานา กาเนช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
นอกเหนือจากการอภิปรายระดับสูงเกี่ยวกับความท้าทายระดับภูมิภาคโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ แล้ว การประชุม Asia RCF ครั้งที่ 8 ของ IUCN ยังมีการจัดการหารือในหัวข้อเฉพาะ 8 หัวข้อ เกี่ยวกับแผนงานหลักที่มีอยู่ปัจจุบันและในอนาคต มีการจัดกิจกรรมคู่ขนาน 17 รายการ โดยสมาชิก IUCN คณะกรรมการ และ พันธมิตร พร้อมทั้งจัดบูธนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานด้านการอนุรักษ์
ในระหว่างการจัดงานสามวันนี้ 1UCN Academy ได้จัดโซนการเรียนรู้ เพื่อแบ่งปันความรู้และจัดฝึกอบรมสั้นๆนอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังมีโอกาสได้ชมโปสเตอร์และนิทรรศการว่าด้วยความร่วมมือต่างๆ ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ