บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จํากัด จัดกิจกรรม Press trip ชวนสื่อมวลชน ร่วมสัมผัสรถยนต์มิตซูบิชิ 4 รุ่น 4 สไตล์ ทั้งแอททราจ , มิราจ , ปาเจโร ,ไทรทัน โดยใช้เส้นทางกรุงเทพ-อยุธยา พาท่องเที่ยวสัมผัสความเป็นไทย พร้อมกับการเดินทางที่สะดวกสบายด้วยรถยนต์มิตซูบิชิ
ออกสตาร์ทที่โรงแรม MODENA โดยก่อนเดินทางมีการบรีฟเส้นทาง และข้อมูลผลิตภัณฑ์ จากนั้นสื่อมวลชนได้ทดลองรถยนต์ในแต่ละรุ่น โดยสลับผลัดเปลี่ยนกันตามจุดแวะพัก จุดแรกที่เดินทางไปคือหมู่บ้านญี่ปุ่น ชมนิทรรศการ และเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่น “หมู่บ้านญี่ปุ่น” เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์อยุธยา สมัยที่อยุธยารุ่งเรื่องถึงขีดสุด มีการค้าขายกับนานาชาติ หลายประเทศรวมทั้งญี่ปุ่น จนเป็นชุมชนญี่ปุ่นเกิดขึ้นในไทย ยามาดะ นางามาซะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข ผู้นำและหัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุ่นสมัยนั้น ได้ตั้งกองอาสาญี่ปุ่นขึ้น และช่วยปราบกบฎ จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึงเจ้าเมือง นครศรีธรรมราช ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา แห่งนี้จึงน่าสนใจไม่น้อย และรอบบริเวณยังจัดเป็นสวนแบบญี่ปุ่น เพื่อระลึกถึงชาวญี่ปุ่นในสมัยนั้นด้วย ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดตั้งขึ้นตามโครงการที่นักวิชาการไทย และนักวิชาการญี่ปุ่น ปรับขยายมาจากข้อเสนอเดิมของสมาคมไทย-ญี่ปุ่น และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเคยเสนอปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่น ให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น มาเป็นการเสนอให้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัย และพิพิธภัณฑสถาน เกี่ยวกับราชอาณาจักรอยุธยาโดยรวม และได้รับงบประมาณช่วยเหลือแบบให้เปล่า จากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงิน ๙๙๙ ล้านเยน (๑๗๐ ล้านบาท) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ๖๐พรรษาและเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มิตรภาพระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับราชอาณาจักรไทยได้สถาพรยืนนานมาครบ๑๐๐ปีศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาแห่งนี้แบ่งออกเป็น๒ส่วนคือส่วนอาคารหลักตั้งอยู่ที่ถนนโรจนะใกล้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาเป็นอาคาร๒ชั้นมีห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อยู่ชั้นบนและอีกส่วนคือส่วนอาคารผนวกตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียนในบริเวณหมู่บ้านญี่ปุ่น
พิพิธภัณฑ์ของศูนย์แห่งนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์อื่นคือการพยายามสร้างภาพชีวิตสังคมวัฒนธรรมในอดีตให้กลับมามีชีวิตขึ้นใหม่ด้วยข้อมูลการวิจัยโดยการนำเทคโนโลยีของการจัดพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่มาใช้จัดแสดงนิทรรศการซึ่งจะทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจชีวิตในอดีตได้ง่ายการจัดแสดงมีทั้งสิ้น๕หัวข้อคืออยุธยาในฐานะราชธานีอยุธยาในฐานะเมืองท่าอยุธยาในฐานะของศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการปกครองความสัมพันธ์ของอยุธยากับนานาชาติและชีวิตชาวบ้านไทยสมัยก่อนทั้งนี้นิทรรศการทุกอย่างที่นำมาแสดงในศูนย์ได้รับการตรวจสอบข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างละเอียดจากคณะอนุกรรมการด้านวิชาการของคณะกรรมการอำนวยการมาแล้ว
จากนั้นก็เดินทางกันไปเป็นคาราวานด้วยรถยนต์มิตซูบิชิ ไปยังวัดหน้าพระเมรุ เพื่อร่วมทำสังฆทาน สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง วัดหน้าพระเมรุตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์ สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งคงสร้างขึ้นราวรัชกาลของพระเจ้าปราสาททอง หน้าบันของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูปพระนารายณ์ทรงครุฑแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ คือเป็นพระนารายณ์อวตาร ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ อันมีความหมายว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดหลวง สำหรับพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ก็สร้างในคติของพระพุทธเจ้าปางโปรดพญามหาชมพู ตามความในมหาชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนกลางต่อลงมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระพุทธรูปองค์นี้อาจเปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปทรงเครื่องภายในเมรุทิศเมรุรายของวัดไชยวัฒนารามที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงอนุมานได้ว่าพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุก็คงจะสร้างขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน ข้าง ๆ พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ยังมีวิหารน้อยหรือวิหารเขียน ซึ่งมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ แล้วยังมีพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ สลักจากหินปูนสีเขียวแก่ เรียกว่า "หลวงพ่อคันธารราฐ" ซึ่งมีอยู่ไม่กี่องค์ในเมืองไทยเวลานี้ ความเก่าแก่นั้นกล่าวได้ว่าเก่าแก่สมัยสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของบูโรพุทโธ หรือบรมพุทโธ บนเกาะชวาในอินโดนีเซียเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว เจดีย์ราย 3 องค์ ที่มีรากไทรแผ่เข้าครอบคลุม ด้านหลังพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ น่าจะคุ้นตาสำหรับผู้ที่เคยเห็นภาพวาดกรุงศรีอยุธยาในหนังสือของ อังรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามา ในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5
จากนั้นเดินทางต่อเพื่อไปแวะพักทานอาหารที่ร้านขนมจีนต้นก้ามปูอโยธยา และจากนั้นเดินทางต่อไปที่พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น ชมของสะสมเกี่ยวกับวิ๔ไทย และของเล่นโบราณพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น เกริก ยุ้นพันธ์ เกิดขึ้นมาจากแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ของ รศ. เกริก ยุ้นพันธ์ ท่านเป็น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และยังเป็นนักวาดภาพประกอบ และคนทำหนังสือสำหรับเด็ก มีผลงานหนังสือภาพจำนวนมากมาย และเคยได้รับรางวัลนอมา(NOMA) จาก ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งจากรางวัลนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดความคิดอยากสร้างพิพิธภัณฑ์ของเล่น ขึ้นในเมืองไทย ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนด้านนอกอาคารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดเป็นสวน พักผ่อน ด้านหน้ามีร้านอาหาร “ร้านข้าวแกงบ้านอาจารย์เกริก”ซึ่งจะขาย ก๋วยเตี๋ยวข้าวแกง และมีเครื่องดื่มกาแฟโบราณ ไอศกรีม
ส่วนที่สองคืออาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังใหญ่ 2 ชั้น สูงโปร่งทาสีขาวทั้งหลัง มีประตู หน้าต่าง แบบบ้านสมัยเก่าทาสีฟ้าดูสดใส ภายในแบ่งเป็นสองชั้น เมื่อก้าวเข้าไปสู่ตัวพิพิธภัณฑ์ด้านใน ก็จะพบ กับสิ่งของจัดแสดงไว้มากมาย อาจารย์เกริกได้ใช้เวลาร่วม 20 กว่าปีในการสะสม ชั้นล่างของอาคารจัดแสดงของเล่นไทยยุคเก่าในสมัยสุโขทัย อยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ มีทั้งตุ๊กตาดินเผา กระปุก ออมสินดินเผา ฯลฯ และมีพวกข้าวของเครื่องใช้คนไทยยุคโบราณ ตั้งแต่ 100 ปีย้อยลงมาถึง 30 ปีที่แล้ว มีของโชว์มากมาย รวมไปถึงมีของเล่นสมัยใหม่ที่เด็กๆ ชื่นชอบให้ได้ดูกันด้วย และก็ยังมี พระ เข็มตรา เหรียญเงินตราของเก่า สะสมให้ดูด้วย เรียกว่าได้มีความสุขกับการได้ชื่นชมกับเหล่าของเล่นและ ข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ ที่มีคุณค่าอยู่ในตัวกันอย่างเต็มอิ่ม จากนั้นออกเดินทางไปร้าน The Summer House เพื่อร่วมทำเวิร์คช๊อป “ขนมเม็ดขนุน” ก่อนจะเดินทางไปอาหารเย็นและเดินทางเข้ากลับกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ