ผลการศึกษาเปิดเผยว่า1 ใน 3 ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่วางแผนจะซื้อรถยนต์ในเร็วๆนี้ มีความพร้อมและสนใจเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยผลที่ได้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคที่จะเร่งให้เกิดยานยนต์ไฟฟ้าในเร็วๆนี้
ผลการศึกษาของ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน โดยนิสสันให้การสนับสนุน ในหัวข้อ “อนาคตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณชนที่งานนิสสัน ฟิวเจอร์ส ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นงานที่มีการรวมกันของผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐ กลุ่มอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน การวิจัยนี้ครอบคลุมทั้งใน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เผยว่า 37% ของผู้ที่กำลังจะซื้อรถยนต์มีความสนใจที่จะซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นคันต่อไป โดยลูกค้าใน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และอินโดนีเซีย คือกลุ่มที่มีความต้องการซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเสนอแรงจูงใจ ที่เหมาะสมจะส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว
ภายในงานนิสสัน ฟิวเจอร์ส นิสสันยังเน้น ความมุ่งมั่นในการก้าวสู่อนาคตของระบบขับเคลื่อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านแนวคิด นิสสัน อินเทลลิเจนท์ โมบิลิตี้ เพื่อพลิกโฉมของพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ การขับขี่ และการเชื่อมต่อเป็นเป็นส่วนหนึ่งในสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้คนก้าวสู่โลกที่ดีขึ้น บริษัทฯ ได้ประกาศเปิดตัว นิสสัน ลีฟ ซึ่งขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้า 100% ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แสดงให้เห็นถึงความเป็นสุดยอดของ นิสสัน โดยรถยนต์ดังกล่าวจะจัดจำหน่ายที่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และประเทศไทย ในช่วงปีงบประมาณหน้าของบริษัทฯ
2 ใน 3 ผู้บริโภคทั่วภูมิภาคให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ในการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และด้านความสะดวกสบายในการชาร์จไฟฟ้าเป็นปัจจัยอันดับที่สอง ตรงข้ามกับความเข้าใจเดิมๆ ราคาไม่ใช่ปัญหา และโดยข้อเท็จจริงแล้ว ลูกค้ามีความพร้อมที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเมื่อเทียบกับรถยนต์แบบทั่วไป อย่างไรก็ตามผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายที่ต่ำลงจะทำให้คนจำนวนมากขึ้นคิดที่จะซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าพวกเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนจากรถยนต์ทั่วไปเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าถ้ามีการยกเว้นภาษี รวมถึงแรงจูงใจอื่นๆ และที่จะสร้างความน่าสนใจให้ผู้บริโภคหันมาซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าในอาคารที่อยู่อาศัย (70 %) การมีช่องทางขับขี่พิเศษสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (56 %) และการไม่เสียค่าที่จอดรถ (53 %)
นาย วิเวก ไวทยา รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบขับเคลื่อนของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เปิดเผยว่า ความเข้าใจในเรื่องรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบันไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงซึ่งสูงกว่ามาก ในทางตรงกันข้าม ความเชื่อที่ว่า ราคาที่สูงของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเป็นอุปสรรค แต่จากการสำรวจเผยว่าผู้บริโภคกลับมีความกังวลด้านความปลอดภัยและการชาร์จไฟ ซึ่ง หากภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐบาลสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ลงได้ ความเป็นไปได้ของยานยนต์ไฟฟ้าก็จะมีอยู่สูง